4tree

4tree ใช้กับยาฆ่าหญ้าได้ไหม

4tree ใช้กับยาฆ่าหญ้าได้ไหม เป็นคำถามที่หลายคนถามกันมามาก เราจึงได้นำข้อมูลมานำเสนอเพื่อให้ทุกคนได้เข้าใจอย่างถูกต้อง
สิ่งที่ต้องห้าม คือ ห้ามผสมกับสารจับใบทุกชนิด “โฟร์ทรี สารเพิ่มประสิทธิภาพพืช” ฉีดพ่นทางใบและลำต้น สามารถผสมกับยาฆ่าหญ้าและฉีดพ่นพร้อมกันได้ แต่ควรปรึกษาข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญสินค้าก่อนใช้เสมอ

4tree

การใช้ 4tree ฉีดพ่นกับพืชพรรณ สามารถผสมกับยาฆ่าหญ้าฉีดพ่นพร้อมกันได้ สำหรับใช้กับนาข้าว ถ้าข้าวยังอยู่ในช่วงเล็กๆ เพื่อลดระยะเวลาสามารถผสม 4tree พร้อมยาคุมยาฉีดพ่นพร้อมกันได้ แต่ถ้าช่วงข้าวที่กำลังเติบโต ขอแนะนำให้แยกกันฉีดจะดีกว่า โดยการฉีดยาฆ่าหญ้าไปก่อนสัก 1 อาทิตย์ หลังจากนั้นให้ทำการฉีดพ่น 4tree ตามจะทำให้ข้าวฟื้นตัวได้เร็วมาก สำหรับการใช้กับมันสำปะหลัง ก็เช่นเดียวกันครับ

4tree

4tree

4tree

4tree

4tree-

4tree

ยินดีให้คำปรึกษา
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 095-534-9939
4tree

ข้อมูลเพิ่มเติม

วัชพืชคืออะไรและมีวิธีการกำจัดอย่างไร

วัชพืช คือ พืชที่ขึ้นผิดตำแหน่ง หรือพืชที่เกิดขึ้นในที่ไม่สมควรและการเกิดขึ้นของมันส่งผลกระทบต่อ ระบบการผลิตทาการเกษตรในทางลบ ทำให้ผลผลิตถูกแย่งสารอาหาร จนล้มตาย หรือเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ สามารถพบได้ทั่วไป ทั้งในสนามหญ้า , ริมถนน , คูน้ำ , บริเวณปลูกพืชผลทางการเกษตร , ในป่า เป็นต้น

4tree

วัชพืชเป็นปัญหาสำคัญในพื้นที่ปลูกข้าว โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคกลางพบว่าปัญหาสำคัญอันดับหนึ่งที่ทำให้เกษตรกรไม่ได้ผลผลิตข้าวสูงและต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาแปลงปลูกข้าวมาก คือการระบาดของวัชพืชหลากหลายชนิดรวมทั้งข้าวปนที่เมล็ดติดมากับเครื่องจักรที่ใช้ในการเก็บเกี่ยว

        การจำแนกชนิดของวัชพืชนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะใช้วางแผนการป้องกันและกำจัดให้ถูกวิธีและถูกเวลา ทั้งนี้สามารถจำแนกวัชพืชเป็นประเภทต่างๆได้ดังนี้

        1.วัชพืชใบแคบ (หรือวัชพืชตระกูลหญ้า) เช่นหญ้าข้าวนก หญ้านกสีชมพู หญ้าแดง หญ้าดอกขาว

        2.วัชพืชใบกว้าง มีลักษณะเป็นพวกพืชใบเลี้ยงคู่ ใบกว้าง เช่น ผักปอดนา ผักบุ้ง เทียนนา

        3.วัชพืชตระกูลกก ลักษณะทรงต้นคล้ายหญ้า แต่ลำต้นไม่มีข้อ ไม่มีปล้อง ลำต้นเป็นหลอด หรือรูปสามเหลี่ยม ได้แก่ กกทราย กกสามเหลี่ยม กกขนาก หนวดปลาดุก

        4.วัชพืชประเภทเฟิร์น ไม่มีเมล็ด ขยายพันธุ์ด้วยส่วนของลำต้น และอับเรณู เช่น ผักแว่น ผักกูดนา

        5.วัชพืชประเภทสาหร่าย เป็นพืชชั้นต่ำ ราก ลำต้นและใบไม่แตกต่างกัน เช่น สาหร่ายไฟ        

        ชนิดของวัชพืชที่ชอบขึ้นในนาข้าวที่ปลูกด้วยวิธีต่างๆ

        -นาปักดำ : หญ้าข้าวนก ผักปอดนา ขาเขียด ผักตับเต่า เทียนนา กกทราย กกขนาก หนวดปลาดุก ผักแว่น สาหร่ายไฟ

        -นาหว่านน้ำตม : หญ้าข้าวนก หญ้านกสีชมพู หญ้าดอกขาว หญ้าแดง ผักปอดนา ขาเขียด กกทราย กกขนาก หนวดปลาดุก ผักแว่น

        -นาหว่านข้าวแห้ง : หญ้านกสีชมพู หญ้าดอกขาว หญ้าแดง หญ้าหางหมา หญ้ากุศลา ผักปราบนา ผักบุ้ง เซ่งใบยาว เซ่งใบมน โสน กกทราย กกขนาก หนวดปลาดุก

4tree

วิธีการป้องกันกำจัดวัชพืช
        หลักการพิจารณาการป้องกันกำจัดวัชพืช มีทั้งการป้องกันไม่ให้วัชพืชจากที่อื่นแพร่ระบาดเข้ามาในพื้นที่ ทั้งเมล็ด ราก เหง้า ลำต้น การควบคุม โดยลดการเสียหายจากการระบาดของวัชพืชที่ขึ้นรบกวน และทำลายชิ้นส่วนของวัชพืชให้หมดไปจากพื้นที่ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายไปที่อื่น ไม่ให้มีการเพิ่มขยายพันธุ์ในพื้นที่เดิม วิธีการป้องกันกำจัดโดยวิธีต่างๆต้องเลือกใช้ให้เหมาะสม ดังนี้

        1. การป้องกันกำจัดโดยวิธีกล  เป็นการใช้แรงงานคน แรงงานสัตว์ การใช้เครื่องทุ่นแรง ใช้ไฟเผา ใช้วัสดุคลุมดิน

        2. การป้องกันกำจัดโดยวิธีเขตกรรม  เป็นการจัดการเพื่อลดปัญหาการแข่งขันจากวัชพืช ได้แก่ การขังน้ำในนา การปลูกพืชคลุมดิน การปลูกพืชหมุนเวียน การใช้อัตราเมล็ดพันธุ์พืชที่ปลูกสูงกว่าปกติ และการจัดการปุ๋ยที่ถูกต้องและเหมาะสม

        3. การป้องกันกำจัดโดยชีววิธี  เป็นการใช้สิ่งมีชีวิตมาควบคุมวัชพืช ได้แก่ แมลง โรคพืช และสัตว์

        4. การป้องกันกำจัดโดยการใช้สารป้องกันกำจัดวัชพืช  เป็นวิธีที่เกษตรกรใช้กันมากเพราะสะดวกรวดเร็ว แต่ต้องรู้วิธีใช้อย่างถูกต้อง ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

        5. การป้องกันกำจัดโดยวิธีผสมผสาน  พบว่าการใช้วิธีการป้องกันกำจัดศัตรูพืชเพียงวิธีใดวิธีหนึ่งไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้สมบูรณ์ เพราะแต่ละวิธีมีข้อดีและข้อจำกัดต่างกันไป การปรับใช้ยุทธวิธีหลายๆวิธีเข้าด้วยกันตามสภาพปัญหาที่เกิดจะสามารถลดปัญหาที่เกิดได้

ระดับความเป็นพิษของสารกำจัดวัชพืช

        การใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชชนิดใดก็ตาม ผู้ใช้ต้องมีความระมัดระวังในระหว่างการใช้ฉีดพ่นสารเหล่านั้น เพราะสารแต่ละชนิดมีความเป็นพิษในระดับต่างๆกัน การจัดระดับความเป็นพิษของสารกำจัดวัชพืชซึ่งเป็นเคมีภัณฑ์ที่จำหน่ายในท้องตลาด สามารถสังเกตได้จากแถบสีที่ฉลากข้างขวด มีอยู่ด้วยกัน 4 สี
        สีแดง     หมายถึง สารเคมีที่มีระดับความเป็นพิษ ร้ายแรง
        สีเหลือง หมายถึง สารเคมีที่มีระดับความเป็นพิษ ปานกลาง
        สีน้ำเงิน  หมายถึง สารเคมีที่มีระดับความเป็นพิษ น้อย
        สีเขียว    หมายถึง สารเคมีที่มีระดับความเป็นพิษ ต่ำ

4tree

ความเสียหายจากวัชพืช

ส่วนมากแล้วความเสียหายที่เกิดจากวัชพืชคนมักนึกไม่ถึง เกษตรกรต้องเสียหายหลายอย่าง ตั้งแต่คุณภาพผลผลิตต่ำลง พื้นที่ๆ ใช้ในการเพาะปลูกเลวลง นอกจากนี้วัชพืชยังทำให้การเลี้ยงสัตว์ไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร เป็นต้นว่า กลิ่นของวัชพืชเป็นกลิ่นที่สัตว์ไม่ชอบวัชพืชบางชนิดสัตว์กินไปแล้วเป็นพิษ ถ้าเลี้ยงสัตว์เอาขน เช่น แกะ ก็ทำให้คุณภาพของขนเลวลง เกษตรกรยังต้องเสียค่าใช้จ่ายในการกำจัดวัชพืชรวมทั้งแรงงานและเครื่องมือ

ถ้าสรุปความเสียหายที่เกิดจากวัชพืชแล้วผลแยกได้เป็นข้อใหญ่ๆ ดังนี้

(1) ทำให้ผลผลิตต่ำลง (Lowered Crop Yield) วัชพืชจะแย่ง น้ำ ธาตุ อาหารจากพืชหลักที่เพาะปลูก ทำให้ผลผลิตต่ำๆ ลง เป็นต้นว่า ปกติได้ข้าว 40 ถังต่อไร่ ถ้ามีวัชพืชขึ้นผลผลิตอาจเป็น 20 ถัง ต่อไร่

(2) ทำให้ราคาที่ดินต่ำลง (Reduced land values) พื้นที่ที่มีวัชพืชขึ้นปกคลุมหนาแน่นมักไม่มีราคา และถ้าวัชพืชนั้นเป็นพวกที่ร้ายแรงยากต่อการกำจัดที่ดินนั้นก็ยิ่งไม่มีราคามากขึ้น ข้อนี้มีผลในด้านการกู้เงินจากธนาคารมาลงทุน

(3) ทำให้ราคาผลิตผลตกต่ำ (Reduced Unit Value of Crop) ทุ่งหญ้าที่ใช้เลี้ยงโคนมถ้ามีวัชพืชขึ้นอยู่มาก น้ำนมที่ได้จะมีกลิ่นและรสไม่เป็นที่ต้องการของตลาด ราคาผลผลิตก็ต่ำลง

(4) วัชพืชหลายชนิดเป็นที่พักอาศัยของโรคพืชและแมลงศัตรูพืชนอกฤดูกาลเพาะปลูกโรคพืชและแมลงอาจจะพักตัวอยู่ในวัชพืชนอกฤดูกาลเก็บเกี่ยว และพืชหลายชนิดอาจจะอาศัยแมลงเป็นตัวแพร่เชื้อ

(5) วัชพืชที่เป็นพิษ พวกนี้ถ้าเป็นสัตว์กินเข้าไปอาจทำให้สัตว์ตายได้ death comas และ cocklebur seedings

ปัญหาของวัชพืช

ปัญหาวัชพืชในหลายท้องที่เกิดจากการใช้เมล็ดพืชที่เมล็ดของวัชพืชปนในการเพาะปลูก วิธีนี้เป็นวิธีที่วัชพืชร้ายหลายชนิดถูกนำเข้าไปในท้องที่ใหม่ สาเหตุและปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้เกิดปัญหาเรื่องวัชพืชพอสรุปได้ดังนี้

วัชพืชหลายชนิดเมื่อไถกลบแล้วไม่ตาย สามารถงอกโตขึ้นมาได้อีก
กฎหมายที่ควบคุมเรื่องวัชพืชไม่รัดกุม หรือไม่ก็ด่านกักกันพืชทำงานหละหลวม
การสูญเสียหน้าดิน (soil erosion) ทำให้พืชที่ปลูกโตช้ากว่าวัชพืช
ในท้องที่ๆ ไม่มีการปลูกพืชหมุนเวียน หลังฤดูกาลเก็บเกี่ยววัชพืชจะขึ้นคลุมพื้นที่นั้นหมด และยากที่จะกำจัดทิ้งภายหลัง
Noxious Weed หมายถึงวัชพืชที่ร้ายแรงมากยากที่จะกำจัดให้หมดไปได้ วัชพืชที่จัดเป็น noxious weed ในท้องที่หนึ่งสภาพดินฟ้าอากาศอาจเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของวัชพืชนั้น แต่ในอีกท้องที่หนึ่งอาจร้อนมาก หรือ หนาวจัด จนวัชพืชชนิดเดียวกันนี้ไม่สามารถขึ้นได้

คลิ๊ก ที่นี่ เพื่อกลับไปหน้าหลัก

 

error: Content is protected !!