4TREE ไบโอบูล ฮอร์โมนชีวภาพ
4tree ไบโอบูล นวัตกรรมจากธรรมชาติ อีกหนึ่งทางเลือกที่สำคัญ สำหรับเกษตรกรที่ใส่ใจในสุขภาพ และต้องการผลผลิตในแปลงเกษตรที่เป็นอินทรีย์ เพิ่มคุณภาพผลผลิตตอบสนองความต้องการของเกษตรกรยุคใหม่ ที่มุ่งเน้นความปลอดภัย ต่อ มนุษย์ และสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ เพื่อลด ละ เลิก การใช้ยาเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ส่งผลเสียตามมาหลายด้าน
“อะมิโนพืช” เพื่อการเกษตร คิดค้นและคัดแยกสายพันธ์ ของจุลินทรีย์ชนิดที่มีความพิเศษ เป็นคุณสมบัติเด่นที่พืชต้องการ เป็นส่วนสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช ทำหน้าที่ย่อยสลายธาตุอาหารสำคัญให้กับพืช รวมไปถึงปรับปรุงสภาพแวดล้อม ปกป้องพืชจากโรคร้ายต่างๆ ช่วยสร่างวัคซีนและฮอร์โมนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต และส่งเสริมผลผลิตทางการเกษตรให้มีคุณภาพ วิจัยและพัฒนาโดยกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ
อะมิโนพืช BLUE แบคทีเรีย บาซิลัส ทูริงเจนซิส หรือที่เรียกกันว่า BT (Bacillus thuringiensis) ทำหน้าที่ปล่อยสารพิษ เดลต้า แอนโดร ทอกซิน ตรงเข้าทำลายระบบทางเดินอาหารของศัตรูพืช ประเภท หนอนชอนใบ หนอนกัดกินผล หนอนเจาะต้น ส่งผลทำให้อดอาหาร เคลื่อนไหวช้าลง และตายในที่สุด นิวคลีโอ โพลิฮีโดร ไวรัส หรือที่เรียกกันว่า NPV (Nuclear Polyhedrosis Virus) จุลินทรีย์ สายพันธุ์ มฤตยู สำหรับศัตรูพืช จะเข้าลายชั้นใต้ผิวหนังของศัตรูพืชให้แตกออก เป็นอัมพาต ช่วยลดจำนวนของศัตรูพืช ได้อย่างรวดเร็ว เชื้อรา เมธาไรเซียม Metarhizium ทำหน้าที่สร้างเอมไซม์ย่อยสลาย ทำลายเซลล์ที่อ่อนแอ ของศัตรูพืช สร้างเชื้อราปกคลุม ลดการเคลื่อนไหวของศัตรูพืช ทำให้เกิดโรคในศัตรูพืช และตายลงอย่างรวดเร็ว หมดปัญหาเรื่องศัตรูพืช ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต
4tree BIO BLUE อะมิโน บูล
ไม่เป็นโทษ กับ สัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง จะทำให้ศัตรูพืช เป็นอัมพาท
50/น้ำ20ลิตร หนอนตัวเล็ก หนอนไช่ใบ วันเว้นวัน 3-4 ครั้ง
100/น้ำ20ลิตร เพลี้ย เอาเชื้อรา กับไวรัสมา ลดวงจรเข้า จ พ ศ 3-4 ครั้ง เกิดจากการเปลี่ยนฤดู ในการเกิดฝน
200/น้ำ20ลิตร ด้วง ด้วงปีกแข็ง หนอนกระทู้ แมลงปีกแข็งต่าง ๆ ฉีด 2-3 ครั้ง
ถ้าอยากป้องกัน ฉีดตั้งแต่เริ่ม ตอนเป็นไข่จะดีมาก
ยินดีให้คำปรึกษา
สอบถามเพิ่มเติม โทร. 095-534-9939
แมลงศัตรูพืช (Insect pest)
การเพาะปลูกในระบบเกษตรอาจมีปัญหาแมลงศัตรูพืชระบาดได้ เช่น เพราะสมดุลระบบนิเวศของฟาร์มหรือแปลงปลูกอาจสูญเสียไปด้วยเหตุบางประการ ดังนั้นเกษตรกรจะต้องหมั่นสำรวจและสังเกตการเปลี่ยนแปลงของประชากรแมลงศัตรูพืช และศัตรูธรรมชาติว่าอยู่ในภาวะสมดุลหรือไม่ ซึ่งในระบบนิเวศการเกษตรที่สมดุลจะต้องมีทั้งแมลงศัตรูพืชและศัตรูธรรมชาติอยู่ จากนั้นเกษตรกรจะต้องประเมินว่าระบบนิเวศฟาร์มยังคงมีสมดุลของประชากรศัตรูพืชและศัตรูธรรมชาติอยู่หรือไม่ ในกรณีที่ระบบนิเวศยังสมดุล เกษตรกรไม่ควรดำเนินการใด ๆ ทั้งนี้เพราะความพยายามกำจัดแมลงศัตรูพืช หรือศัตรูพืชตามธรรมชาติในขณะที่นิเวศการเกษตรมีความสมดุลอยู่แล้ว อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสมดุล (เสียสมดุล) ในทิศทางที่ทำให้ประชากรของศัตรูพืชระบาดเพิ่มขึ้น
แมลงศัตรูพืช หมายถึง สัตว์ที่มีลำตัวเป็นปล้อง (Arthropods) จัดอยู่ในชั้น (class) Insecta ประกอบด้วยสัตว์ประมาณ 26 อันดับ (order) ซึ่งสัตว์เหล่านี้ได้ก่อความเสียหายแก่พืชเพาะปลูก แมลงเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ลำตัวแบ่งออกเป็นสามส่วน คือ ส่วนศรีษะ (head) อก (thorax) และท้อง (abdomen) ซึ่งบนส่วนอกมี 3 ปล้อง ซึ่งแต่ละปล้องมีขา 1 คู่ ส่วนท้องมี 8-11 ปล้อง แมลงมีผนังหุ้มลำตัวแข็ง (exoskeleton) ดังนั้นการเจริญเติบโตของแมลงจึงต้องอาศัยการลอกคราบ (molting) การจำแนกชนิดของแมลงที่ถูกต้องจะแบ่งตามหลักการอนุกรมวิธานโดยนักกีฏวิทยา (entomologist) แต่ในที่นี้จะขอแบ่งชนิดของแมลงศัตรูพืชออกตามลักษณะของการทำลายดังนี้
- แมลงศัตรูพืชจำพวกกัดกินใบ (leaf feeder) ได้แก่ หนอนผีเสื้อ ตั๊กแตน ด้วงปีกแข็ง แมลงศัตรูพืชพวกนี้มีปากแบบกัดกิน (chewing) สามารถกัดกินใบทั้งหมด หรือกัดกินเฉพาะตัวใบแล้วเหลือเส้นใบไว้ ทำให้พืชขาดส่วนสังเคราะห์แสง หรือขาดที่สะสมอาหาร หรือขาดยอดอ่อนสำหรับการเจริญเติบโตต่อไป
- แมลงศัตรูพืชจำพวกดูดกินน้ำเลี้ยง (juice sucker) ได้แก่ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยกระโดด เพลี้ยจั๊กจั่น และมวนต่าง ๆ แมลงศัตรูพืชจำพวกนี้มีปากแบบดูด (sucking) สามารถแทงและดูดน้ำเลี้ยงจากใบ ยอดอ่อน กิ่ง ลำต้น ดอก หรือ ผล ทำให้ส่วนต่าง ๆ ของพืชที่ถูกดูดกินน้ำเลี้ยงมีรอยไหม้ ใบม้วนเหี่ยว ไม่เจริญเติบโต หรือแคระแกร็น และนอกจากนี้แมลงจำพวกนี้ยังเป็นสาเหตุสำคัญของการถ่ายทอดและแพร่กระจายโรคพืชที่มีเชื้อไวรัสเป็นสาเหตุอีกด้วย
- แมลงศัตรูพืชจำพวกหนอนชอนใบ (leaf minor) ได้แก่ หนอนผีเสื้อ หนอนแมลงวันบางชนิด แมลงศัตรูพืชจำพวกนี้มักมีขนาดเล็ก กัดกินเนื้อเยื่ออยู่ระหว่างผิวใบพืช ทำให้พืชขาดส่วนสังเคราะห์แสงหรือขาดส่วนสะสมอาหาร
- แมลงศัตรูพืชจำพวกหนอนเจาะลำต้น (stem borer) ได้แก่ หนอนด้วง หนอนผีเสื้อ และปลวก แมลงศัตรูพืชจำพวกนี้มักวางไข่ตามใบหรือเปลือกไม้ เมื่อไข่ฟักออกเป็นตัวหนอนก็จะชอนไชเข้าไปอยู่ในกิ่ง ลำต้น หรือผล ทำให้ต้นพืชขาดน้ำและอาหารแล้วแห้งตายไป หรือทำให้ผลไม้เน่า, หล่น เสียหาย
- แมลงศัตรูพืชจำพวกกัดกินราก (root feeder) ได้แก่ ด้วงดีด จิ้งหรีด แมลงกระชอน ด้วงดิน ด้วงงวง แมลงศัตรูพืชจำพวกนี้มีปากแบบกัดกิน มักมีชีวิตหรือวางไข่ตามพื้นดิน ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะเข้าทำลายรากพืช ทั้งทำให้พืชยืนต้นแห้งตายเนื่องจากขาดน้ำและอาหาร
- แมลงศัตรูพืชจำพวกที่ทำให้เกิดปุ่มปม (gall maker) ได้แก่ ต่อ แตน และเพลี้ย แมลงศัตรูพืชจำพวกนี้เมื่อกัดกิน, ดูดน้ำเลี้ยงหรือวางไข่บนพืชแล้ว มักจะปลดปล่อยสารบางชนิดลงบนพืช ทำให้เกิดอาการปุ่มปมผิดปกติบนส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น ดอก ใบ ยอดอ่อน ราก และลำต้น